จิตวิทยา ความรัก

[siteorigin_widget class=”SiteOrigin_Widget_Image_Widget”][/siteorigin_widget]

จิตวิทยาความรัก (Psychology of love)

  • ความรักเกิดขึ้นได้อย่างไร?

    มีการศึกษาพบว่า ความรักเกิดขึ้นได้จากปัจจัยหลัก ๆ ดังนี้

  1.  ความสัมพันธ์ชิดใกล้  เป็นจุดเริ่มต้นของความรัก อาจเริ่มจากการเป็นเพื่อนและเรียนรู้ ลักษณะนิสัยใจคอซึ่งกันและกัน และพัฒนาความสัมพันธ์มาเป็นคนพิเศษและกลายมาเป็นคนรักและแต่งงานกัน ความสัมพันธ์ใกล้ชิดนั้นทำให้คนเรามีโอกาสพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน
  2. ความดึงดูดทางรูปร่างหน้าตา  หน้าตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ คนหน้าตาดีย่อมมีเสน่ห์สามารถดึงดูดให้ผู้คนเกิดความสนใจและตกหลุมรักได้ง่ายกว่าคนที่หน้าตาดีน้อยกว่า
  3. ลักษณะอุปนิสัยคล้ายคลึงกัน รสนิยม ทางความคิดและการปฏิบัติที่เหมือนๆกันจะดึงดูดให้เข้าหากันง่ายกว่า เพราะคนที่มีอะไรคล้ายกันย่อมมีเรื่องราวคุยสร้างความสัมพันธ์ได้ง่ายกว่า
  • คนเรามักใช้เหตุผลอะไรในการเลือกคนรัก

    ตามแนวความคิดของฟรอยด์  (Freud) โดยฟรอยด์กล่าวว่าคนเราเลือกคนรักด้วยเหตุผล ดังนี้

  1. มีอุปนิสัยคล้ายกับพ่อและแม่ของตนเอง เรียกว่า anaclitic love ถ้า เหมือนพ่อหรือแม่เราเรียกว่าเป็นแบบ positive way มักเป็นในคนที่พ่อหรือแม่ดีเป็นที่ประทับใจ เช่นถ้าเป็นลูกสาว ที่มีพ่อนิสัยดี สุภาพอ่อนโยน ก็ย่อมเลือกคนรักที่เหมือนกับพ่อ   แต่อีกรูปแบบหนึ่ง เรียกว่า negative way คือ ชอบคนที่มีนิสัยที่แตกต่างกับพ่อและแม่ของตนเอง เช่นลูกชายที่มีแม่จุกจิกขี้บ่น ระเบียบจัด ก็ย่อมอยากได้แฟนที่มีนิสัยตรงกันข้าม เป็นต้น
  2. มีอุปนิสัยเหมือนตัวเราเอง เรียกว่า narcissistic love ถ้า เป็น positive way คือชอบคนที่มีนิสัยเหมือนๆกับตัวเรา ความเหมือนกันทำให้เข้ากันได้ง่ายกว่า การรักคนที่เหมือนตัวเองนั้น ยังเป็นการเสริมความรู้สึกภาคภูมิใจให้ตัวเองไปด้วย ถ้าเป็น negative way คือการชอบคนที่ตรงข้ามกับตัวเอง เช่น คนที่เงียบ ๆ ไม่ค่อยพูด อาจจะชอบคนที่ร่าเริง คุยเก่ง สนุกสนาน เพื่อเป็นการเติมเต็มแลกเปลี่ยนสิ่งที่อีกฝ่ายไม่มี ทำให้เกิดความตื่นเต้นในการเรียนรู้สิ่งดีๆใหม่และการยอมรับซึ่งกันและกัน
  3. มีลักษณะคล้ายคนในอุดมคติ เรียกว่า ideal love คือชอบคนที่มีลักษณะตามที่ตนเองกำหนดหรือวาดฝันไว้ เช่น ต้องหล่อ รวย หน้าตาดี มีนิสัยดี ตามใจ และสุภาพอ่อนโยน เป็นต้น
  • องค์ประกอบของความรัก

    ความรักนั้น แสดงออกใน 3 ด้าน คือ ด้านความรู้สึก(affect) ความคิด (cognition)  และพฤติกรรมการกระทำ (behavior)

ความรู้สึก : คือรู้สึกว่ารัก ชอบ รู้สึกดีและมีความสุขเพียงแค่ได้พบได้เจอและอยู่ใกล้ชิด
ความคิด :  คือ การเข้าใจคนที่เรารัก มองเห็นแต่สิ่งดีของคนรัก  ยอมรับได้ในสิ่งที่ไม่ดี  เห็นคุณค่าความหมาย และให้เกียรติแก่คนที่รักเรา
พฤติกรรมการกระทำ : คือการปฏิบัติดีต่อกันด้วยความรักให้เกียรติซึ่งกันและกัน มีความสัมพันธ์กันทั้งความคิดและการกระทำ หลาย ๆ ครั้งปัญหาที่เกิดขึ้น เกิดจากการแสดงออกนั้นไม่ไปด้วยกันในแต่ละด้าน เช่น บอกว่ารักแฟนมาก ๆ แต่ไม่เคยทำอะไรให้เลย ไม่เคยช่วยเหลือ ไม่เคยดูแล ทำให้พูดยังไงก็ไม่มีน้ำหนัก แต่หากมองอย่างใช้ความคิด แฟนก็ดี ดูแล เป็นห่วง ไม่เคยนอกลู่นอกทาง เรียกว่าใช้แต่ความรู้สึก ไม่ได้ใช้ความคิดร่วมด้วย

  • ระยะของความรัก

    พบว่าส่วนใหญ่แบ่งความรักออกเป็นสามระยะ (อ้างอิงทฤษฏีตาม Lasswell เป็นหลัก)

ระยะที่ 1 เรียกว่า Romantic love เป็นช่วงโปรโมชั่น ทำอะไรก็หวานแว๋ว ดูดีไปหมด คุณมีเวลา 3 เดือน – 1 ปี      ระยะที่ 2 เรียกว่า  Logical – Sensible Love เป็นช่วงรักที่มีเหตุผล เริ่มเห็นข้อดี ข้อเสียของกันและกัน หากมีความเข้าใจปรับตัวกันได้ ก็สามารถพัฒนาความรักให้ก้าวต่อไปได้ แต่คนส่วนใหญ่มักเลิกกันในช่วงนี้

ระยะที่  3  เรียกว่า  Lifelong friendship คือความรักแบบฉันท์เพื่อน เป็นช่วงที่มีความผูกพันและความเป็นเพื่อนสนิท เป็นรักแท้ ซึ่งเป็นการรักษาความพันธ์ที่ดีด้วยเวลาที่ผ่านเรื่องราวทั้งทุกข์และสุขร่วมกันมา

ประเภทของความรัก

ความรักสามารถแบ่งได้หลายแบบ แต่สามารถแบ่งเป็นหลักๆได้ 2 ประเภท ดังนี้

  1. Immature love (ความ รักอย่างไม่มีวุฒิภาวะ หรือรักแบบเด็ก ๆ ) เป็นความรักของผู้ที่รู้สึกขาด เอาอารมณ์เป็นที่ตั้ง เห็นแต่ความอยาก ความต้องการของตัวเอง ต้องการ”บางสิ่ง” มาเติมเต็มจิตใจตัวเอง Immature love : I love you because I need you
  2. Mature love (ความ รักอย่างมีวุฒิภาวะ) เป็นความรักของผู้ที่เต็มในตัวเอง มีเหตุมีผล อดทน เป็น active มากกว่า passive (คือเป็นผู้ให้ มากกว่าผู้ที่รอรับ) : Mature love :  I need you because I love you

Mature love นั้นมีลักษณะเป็นดังนี้

มองเห็นส่วนดีของกันและกันสามารถยอมรับได้ในความแตกต่างของกันและส่วนไม่ดี รู้จักขอโทษ และให้อภัย  มีความรับผิดชอบ มีความห่วงใยเอาใจใส่กันมีมิตรภาพที่ดีและมีความคาดหวังอย่างเหมาะสม