ความแตกต่างระหว่างบุคคล

มนุษย์เรามีความคล้ายคลึงกันอยู่หลายประการ เช่น ความต้องการ ความชอบ หรือความรู้สึกบางอย่าง  แต่ก็มีหลายส่วนที่มีความแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น รูปร่างหน้าตา ความสูง ต่ำ สีผิว บุคลิกท่าทางหรือแม้แต่ลักษณะนิสัย อารามณ์ ความคิด ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าทุกคนล้วนมีความแตกต่างกัน ซึ่งสาเหตุที่ทำให้บุคคลแตกต่างกันนั้น นักจิตวิทยาและนักการศึกษาเชื่อว่า ความแตกต่างระหว่างบุคคลเป็นผลมาจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม  

ลักษณะของความแตกต่างของบุคคล

  1. ความแตกต่างที่มีมาแต่กำเนิดหรือความแตกต่างทางด้านร่างกาย

บุคคลเกิดมาพร้อมด้วยองค์ประกอบทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน (ยกเว้นฝาแฝดแท้) และด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีลักษณะทางร่างกายแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น  เพศ (ผู้ชาย/ผู้หญิง) อายุ รูปร่าง หน้าตา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นผลมาจากกรรมพันธุ์  แต่อย่างไรก็ตามบางครั้งสิ่งแวดล้อมก็มีโอกาสที่จะแทรกแซงที่ทำให้ความแตกต่างทางด้านร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงได้

  1. ความแตกต่างที่เกิดจากการได้รับอิทธิพลภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม

ความแตกต่างที่เกิดจากการได้รับอิทธิพลภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม เกิดจากประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้มา จากสิ่งรอบตัวเรา ไม่ว่าจะเป็น ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา ครอบครัว ชุมชน หรือสังคม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะมีอิทธพลทำให้บุคคลมีทัศนคติ ความเชื่อ ความถนัด ความสนใจ อารมณ์ หรือพฤติกรรมที่แตกต่างกัน เช่น เด็กชายเอได้รับเลี้ยงดูมาในสภาพแวดล้อมที่ดี คนรอบข้างมีน้ำใจ เด็กชายเอก็จะได้เรียนรู้ถึงการมีน้ำใจต่อกัน และอาจส่งผลให้เด็กชายเอเป็นคนมีน้ำใจเช่นกัน

 

การจัดการความแตกต่างเพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุข

การเข้าใจถึงความแตกต่างถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะนั้นคือจุดเริ่มที่จะช่วยให้สามารถเรียนรู้และพัฒนาปรับตัว เข้ากับสภาพแวดล้อม สังคม ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งมีวิธีการการจัดการความแตกต่างเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข ดังนี้

  1. การพัฒความแตกต่างที่มีมาแต่กำเนิดหรือความแตกต่างทางด้านร่างกาย เป็นการพัฒนาบุคลิกภาพภายนอก เช่นรูปร่าง ความแข็งแรง ความคล่องแคล่วของร่างกาย สามารถทำได้โดยการฝึกการเคลื่อนไหวร่างกาย เล่นกีฬา ออกกำลัง การเดิน วิ่ง เพื่อช่วยให้ร่างกายแข็งแรง และมีบุคลิก ที่เหมาะสม
  2. การพัฒความแตกต่างที่เกิดจากการได้รับอิทธิพลภายนอก เป็นการพัฒนาเพื่อให้บุคล มีความรู้ มีทักษธการดำเนินชีวิต มีอารมณ์ และพฤติกรรมที่เหมาะ ซึ่งสามารถทำได้โดยการเรียนรู้ทักษะการเข้าสังคมการปรับตัวเข้ากับผู้อื่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การฝึกทักษะด้านต่างๆให้มีความชำนาญ ฝึกการใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา รู้จักการสร้างอารมณ์ขันให้กับตนเองและผู้อื่น มีวิธีการจัดการกับอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น อารมณ์เศร้า หดหู่ หรือความตึงเครียดอย่างเหมาะสม

 

ที่มา

http://thongkred99.blogspot.com/2013/07/blog-post_7954.html

https://www.gotoknow.org/posts/508136